วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อากง



ไม่ได้เหนือความคาดหมายกับการนำกรณีการเสียชีวิตของ อำพล ตั้งนพคุณ วัย 61 ปี นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ถูกศาลพิพากษาจำคุก 20 ปี ไปขยายผลอย่างเอาจริงเอาจังของพวก “แดงล้มเจ้า” เป้าหมายเพื่อให้แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 เปิดทางให้สามารถวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ได้โดยสะดวก ซึ่งที่ผ่านมาคนพวกนี้ก็ได้มีการนำเอากรณีการจำคุก อำพล โดยใช้คำว่า “อากง” มาสร้างความหมายเรียกร้องความเห็นใจ ทำนองว่า “รังแกคนแก่” และกฎหมายไม่เป็นธรรม ต้องมีการแก้ไข อะไรประมาณนั้น
      
       ก่อนหน้านี้มีการเคลื่อนไหวกันถึงขนาดมีนักเขียนมือสมัครเล่นอยากดังถึงกับลงทุนโหนกระแสด้วยการ “เปลือยนม” เรียกร้องให้ปล่อยตัวอากง และร่วมเคลื่อนไหวลงชื่อให้แก้ไขกฎหมายอาญามาตราดังกล่าว
      
       อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาหัวโจกในการเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวมาจากพวกนักวิชาการที่ “ไม่เอาเจ้า” กลุ่มหนึ่งเท่าที่จำได้ก็มีชื่อปรากฏ เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และก่อนหน้านี้คนพวกนี้ก็ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มนิติราษฎร์ ที่มีหัวโจกคือ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เสนอให้แก้ไขมาตรา 112 มาแล้วแต่ไม่สำเร็จ เพราะฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่กล้ารับลูกดำเนินการตรงๆ เพราะถูกต่อต้านจากสังคมในวงกว้างนั่นเอง
      
       ทำให้คนในรัฐบาลหลายคนตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงมา จนถึงรองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่มักรับงานเคลื่อนไหวในเรื่องการเสนอกฎหมายในสภาก็ปฏิเสธ ยืนยันว่ารัฐบาลไม่แตะต้องเรื่องดังกล่าว รวมทั้งมีท่าทีแข็งกร้าวจากคนในกองทัพขัดขวางทำให้ต้องฝ่อลงไป แต่ก็ไม่วายที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้หันมาโจมตีรัฐบาลระบุว่า ย่ำศพคนเสื้อแดงขึ้นไปเสพอำนาจ รวมไปถึงการปรองดองกับอำมาตย์ เป็นต้น
      
       สำหรับกรณีของอำพล หากพิจารณาผิวเผินโดยไม่รู้ที่มาที่ไปก็อาจเข้าใจผิดไปว่าทำไมต้องมาจับคนแก่ขังคุกถึง 20 ปี เป็นเรื่องไม่เป็นธรรมและทำร้ายจิตใจกันมากเกินไปหรือเปล่า สร้างกระแสรัดทดได้ไม่ยาก แต่ขณะเดียวกันต้องรับรู้ข้อมูลกันอีกด้านหนึ่งด้วยว่าเขาเคยมีชื่ออยู่ในบัญชีของตำรวจสันติบาลมานานแล้ว เนื่องจากมีความเคลื่อนไหวหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และในการชุมนุมคนเสื้อแดงเขาก็มักไปเข้าร่วมและมักแจกจ่ายใบปลิวโจมตีสถาบันอยู่เสมอ จนเรียกได้ว่า “เป็นแดงล้มเจ้าฮาร์ดคอร์” คนหนึ่งทีเดียว และสาเหตุที่ต้องติดคุกก็เนื่องจากได้กระทำความผิดจากกรณีส่งข้อความสั้นจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงต่อเนื่องกันหลายครั้ง มีความผิดต่างกรรมต่างวาระ หลายกระทง จนกระทั่งนำไปสู่คำพิพากษาจำคุก 20 ปี โดยแยกเป็น 4 กระทงๆ ละ 5 ปี
      
       นั่นคือที่มาที่ไป ไม่ใช่จู่ๆ ไปจับเขาขังคุก ใช้อำนาจเถื่อนรังแก ก็หาใช่ไม่ ซึ่งเหมือนกับคนทั่วไปหากไม่ได้ไปดูหมิ่น ให้ร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท ที่กำหนดเอาไว้ตามกฎหมายก็ไม่มีความผิด อีกทั้งหากไม่มีเจตนาที่จะจาบจ้วงก็ไม่เห็นต้องเดือดร้อนกับการมีกฎหมายดังกล่าว
      
       กรณีของอากง แม้จะมีความเสียใจต่อการเสียชีวิต เพราะถือว่าทุกชีวิตมีค่า มีความหมาย แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ควรที่จะนำกรณีดังกล่าวมาบิดเบือน เพื่อสร้างกระแสไม่เลิก ตั้งแต่ถูกจับกุม ความพยายามในการขอประกันตัว จนกระทั่งล่าสุดกรณีการเสียชีวิต ซึ่งคนพวกนี้ที่กำลังดำเนินการอย่างเต็มที่ถือว่าน่ารังเกียจยิ่งกว่า เพราะไม่ต่างจากการ “หากินกับคนตาย” ใช้คนตายมาสร้างกระแสเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของตัวเอง และที่สำคัญก็คือการพยายามนำเสนอข้อมูลแบบลับๆ ล่อๆ เจตนาให้สังคมเข้าใจผิด ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสียหายโดยที่ไม่อยู่ในฐานะชี้แจงอย่างตรงไปตรงมาได้
      
       คำพูดของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ใช้โอกาสนี้ใช้ถ้อยคำปลุกเร้าอย่างรุนแรง มีเจตนาทำลาย “ใคร” เชื่อว่าคนที่ติดตามเรื่องราวอย่างเข้าใจก็ย่อมมองออกได้ไม่ยาก เพราะความหมายที่ซ่อนอยู่นั้นต้องการสื่อไปถึงใคร
      
       แน่นอนว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความพยายามในการสร้างกระแสดังกล่าวของคนพวกนี้อาจจะยังไม่ได้ผล เพราะยังเชื่อว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยยังไม่กล้ากลับลำ หรือทำอะไรที่โฉ่งฉ่าง อีกทั้งเวลานี้ระหว่างแดงล้มเจ้ากับ แดงทักษิณ ถือว่าแยกทางกันค่อนข้างชัดเจน โดยฝ่ายหลังมุ่งหาผลประโยชน์ ไม่ต้องการอุดมการณ์ เพราะกินไม่ได้ กำลังสนุกอยู่กับอำนาจรัฐและปรองดองกับอำมาตย์
      
       การออกมาเคลื่อนไหวของแดงล้มเจ้าที่พุ่งเป้าไปที่การทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการควบคุมตัวของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม รวมไปถึงกระบวนการยุติธรรม โจมตีศาล ซึ่งไม่อยากนึกภาพว่าหากเป็นรัฐบาลชุดที่แล้วบรรยากาศจะคึกคักมากกว่านี้แน่นอน แต่ก็อย่างว่านั่นแหละเป้าหมายที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ข้างหลังหากสังเกตให้ดีเป้าหมายอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เชื่อก็ลองกลับไปพิจารณาข้อความในเฟซบุคส์ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ใช้ถ้อยคำรุนแรงขึ้นมึงนั้นหมายถึงอะไร!!

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทย

                                                   

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย มีความสำคัญต่อสังคมไทย หลายประการ ดังนี้
        1.  พระพุทธศาสนาสอนให้มีจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต  จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง จุดมุ่งหมายสูงสุดนี้จะบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติทางจิตใจอย่างยิ่งยวด แม้จะไม่บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดในทันที แต่การปฏิบัติเพื่อให้ใกล้จุดหมายเท่าใดก็เป็นความดีเท่านั้น
        2.  พระพุทธศาสนาสอนให้เป็นคนมีเหตุผล  คือ ไม่เชื่ออย่างงมงาย เช่น  ไม่ให้เชื่อฟังตาม ๆ กันมา ไม่ให้เชื่อโดยนึกเดาเอาเอง ไม่ให้เชื่อโดยอ้างตำรา แต่ให้ไตร่ตรองด้วยตนเองตามหลักเหตุผลแล้วจึงเชื่อ ความเชื่อนี้สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์
        3.  พระพุทธศาสนาส่งเสริมการศึกษา  ก่อนมีพระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติ การศึกษาของไทยจะจัดอยู่ในวังและในวัด การศึกษาในวัดจะมีพระเป็นผู้สอน ส่วนการศึกษาในวังก็มีพระและราชบัณฑิต (รับการศึกษามาจากวัด) เป็นผู้สอน ต่อมาแม้จะโอนให้รัฐเป็นผู้จัดการ แต่ก็ยังจะมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาอยู่
        4.  พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทย   การดำเนินชีวิตของคนไทยในช่วงของชีวิตจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตลอด  ทำให้เกิดพิธีกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น พิธีทำบุญวันเกิด  พิธีทำบุญขั้นบ้านใหม่  พิธีแต่งงาน  พิธีทำบุญงานศพ เป็นต้น

อุทกภัย

               

            เมื่อย่างเข้าสู่ปลายเดือนพฤษภาคม สายน้ำแห่งความชุ่มฉ่ำ จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาจากก้อนเมฆบนท้องฟ้า นั่นหมายความว่า กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งสายฝนจะตกโปรยปรายลงมาให้ชุ่มฉ่ำ พืชผลทางการเกษตร ดอกไม้ ใบหญ้า จะได้สัมผัสกับน้ำฝนอย่างเต็มที่ เหล่าพายุต่าง ๆ แห่แหนพัดผ่านอยู่เนือง ๆ จนกว่าจะหมดฤดูในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งก่อนที่น้ำฝนจะเทลงมาในฤดูฝนนั้น เกษตรกรในแถบที่ราบสูงของไทย ต้องเผชิญกับความแห้งแล้งแสนสาหัส ถึงขนาดที่ต้องพึ่งพาโครงการฝนหลวง เพื่อให้ผลผลิตการเกษตรยังคงออกดอกออกผลอยู่ได้ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในปีนี้ ความดีใจของเกษตรกรกลับเปลี่ยนแปลงเป็นความทุกข์ใจอีกครั้ง เพราะฝนที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่องไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ได้เปลี่ยนให้แผ่นดินที่แห้งแล้ง ต้องเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมสูงจนทะลักเข้าสู่ที่พักอาศัย

    อุทกภัย หรือ ที่เราเรียกติดปากว่า น้ำท่วม คือ มหันตภัยร้ายที่เกิดขึ้นโดยเงื้อมมือของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยน้ำท่วมออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้        
  1. น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากฝนที่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนผืนดินไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทัน น้ำฝนที่เทลงมาจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในที่ราบสูง และไหลลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า จนทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหาย
 2. น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง เพราะฝนที่ตกอย่างหนักทำให้พื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกได้ อีกทั้งน้ำในแม่น้ำลำคลองยังมีปริมาณมากจนล้นตลิ่ง และอาจทะลักเข้าถึงบ้านเรือนได้ 

ความเป็นมาของประเทศอาเซียน

                                                  

                                                   



อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน      
           
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ  

วัตถุประสงค์หลัก

                           ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  
          และองค์การระหว่างประเทศ
                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง  


การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน


ครั้งที่
วันที่
ประเทศเจ้าภาพ
สถานที่จัดตั้งการประชุม
ครั้งที่ 1
23-24 กุมภาพันธ์ 2519
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 2
4-5 สิงหาคม 2520
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3
14-15 ธันวาคม 2530
ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา
ครั้งที่ 4
27-29 มกราคม 2535
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 5
14-15 ธันวาคม 2538
ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6
15-16 ธันวาคม 2541
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย
ครั้งที่ 7
5-6 พฤศจิกายน 2544
ประเทศบูรไนดารุสซาราม
บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8
4-5 พฤศจิกายน 2545
ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
ครั้งที่ 9
7-8 ตุลาคม 2546
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 10
29-30 พฤศจิกายน 2547
ประเทศลาว
เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11
12?14 ธันวาคม 2548
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12
11?14 มกราคม 25501
ประเทศฟิลิปปินส์
เซบู
ครั้งที่ 13
18?22 พฤศจิกายน 2550
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 14
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา
ครั้งที่ 15
23-25 ตุลาคม 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
ครั้งที่
8-9 เมษายน 2553
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย


14 ตุลา วันมหาวิปโยค

   





14 ตุลาคม พ.ศ. 2516--วันประชาธิปไตย เกิดเหตุการณ์ "14 ตุลา" หรือ "วันมหาวิปโยค" นับเป็นการแสดงพลังทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ เมื่อนิสิต นักศึกษาและประชาชนกว่า 500,000 คนชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและคัดค้านอำนาจรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร (ซึ่งทำรัฐประหารยึดอำนาจตัวเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514) การเดินขบวนเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกไปตามถนนราชดำเนินสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนจะปะทะระกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร กลายเป็นการจราจล และเกิดการนองเลือด มีนักศึกษาและประชาชนสูญเสียชีวิต 77 คนและบาทเจ็บ 857 คน เหตุการณ์สงบลงในค่ำวันที่ 15 ตุลาคม เมื่อ 3 ทรราช ถนอม ประภาส ณรงค์ หนีออกนอกประเทศ และมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ คนใหม่ ปัจจุบันได้มีการก่อสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวบริเวณ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง พร้อมทั้งก่อตั้งมูลนิธิ 14 ตุลา ขึ้นด้วย ต่อมาได้มีการกำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เพื่อรำลึกถึงพลังบริสุทธิ์ของคนหนุ่มสาวที่เสียสละชีวิตเพื่อประชาธิปไตย

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

  งานแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ได้กระทำมาแต่ครั้งพุทธกาล เหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อน มีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาติให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา 3 เดือนคือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านพอดีในช่วงเข้าพรรษานี้ประชาชนจะนำเทียนไปถวายพระภิกษุเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฮลียวแลาดมีไหวพริบปฏิภาณประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่ได้จากรังผึ้ง

           ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

           การแห่เทียนในยุคแรกๆชาวบ้านจะร่วมบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมามัดติดกับลำไม้ไผ่ติดกระดาษเงินสีทองตัดลายฟันปลามาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนมัดติดกับปิ๊บน้ำมันก๊าด โดยใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนลากจูง และมีขบวนฟ้อนรำด้วยต่อมาได้มีการหล่อดอกจากผ้าพิมพ์แล้วมีการประยุกต์ประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปแกะสลักสัตว์ ลายไม้ฉลุทำให้ต้นเทียนดูสวยงามมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นประชาชนก็เห็นความสำคัญประเพณีแห่เทียนมากขึ้น จังหวัดก็ได้ส่งเสริมให้เป็นงานประจำปีในช่วงนั้นมีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสี กับประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น การทำต้นเทียนก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนมาถึงการแกะสลักลงบนต้นเทียนโดยตรง ซึ่งเป็นการแกะที่ต้องอาศัยฝีมือเป็นอย่างยิ่ง      ต่อมาประเพณีแห่เทียนพรรษาจึงได้จดการประกวด3 ประเภท โดยเพิ่มประเภทแกะสลักลงบนต้นเทียนลงไป

             งานประเพณีแห่เทียนพรรษาได้รับการส่งเสริมจากทางจังหวัดมากขึ้น จนทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้เป็นงานประเพณีระดับชาติ ทำให้งานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบลเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางมาเที่ยวกันมากมาย

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา



วันสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ อันเนื่องด้วยพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า คือบริษัทสี่อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ให้น้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในหลักที่สำคัญ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจรรโลงให้พระพุทธศาสนา ดำรงคงอยู่สถิตสถาพร เป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตนเองและแก่สัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งมิใช่จำกัดอยู่เพียงมนุษยชาติเท่านั้น

วันสำคัญในพระพุทธศาสนา ตามลำดับความสำคัญ และตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นคือ วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา วันเข้าพรรษา และออกพรรษา